โรคไข้เลือดออก ภัยร้ายจากยุงลาย

โรคไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน มักพบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี อาการมี
ตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

การติดต่อโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี มี 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 มียุงลายเพศเมียเป็นพาหะนำโรคซึ่งออกหากินในเวลากลาง
วันและดูดเลือดคนเป็นอาหาร เมื่อยุงลายดูดเลือดจากผู้ป่วยในระยะที่มีไข้ ซึ่งมีเชื้อไรัสในกระแสเลือด เชื้อจะเข้าไปฝังตัวในกระเพาะยุงแล้วไปอยู่ในเซลล์ที่ผนังกระเพาะ เมื่อ
ไวรัสจำนวนมากขึ้นจะออกมาจากซลล์ผนังกระเพาะของยุง และเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย โดยมีระยะกตัวในยุงประมาณ 8 - 12 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไปกัดคนอื่น เชื้อไวรัสก็จะ
เข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ก่อให้เกิดการติดเชื้อและป่วยตามมาหลังจากถูกกัดประมาณ 3 - 15 วัน ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้

กลุ่มเสี่ยงโรคไข้เลือดออก
สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยในเด็กวัยเรียน และวัยทำงนตอนต้น ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่ออาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อน ได้แก่
- เด็กทารก และผู้สูงอายุ
- มีภาวะอ้วน
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้ที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงแตกง่าย หรือโรคที่เกิดจากฮีโมโกลบินผิดปกติ
- ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหอบหืด โรคหัวใจขาดเลือด โรคไตวาย โรคตับเรื้อรัง
- รับประทานยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือยาในกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inammatory หรือ NSAIDs)

อาการของโรคไข้เลือดออก
โดยทั่วไปการติดเชื้อไวรัสเดงกีครั้งแรก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ 80 - 90% อาการจะไม่รุนแรง บางรายอาจมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก และมีผื่นที่ผิวหนัง แต่
ถ้าเป็นการติดเชื้อครั้งที่ 2 โดยเชื้อไวรัสสายพันธุ์ต่างจากครั้งแรก อาจมีอาการรุนแรงเกิดเป็นภาวะไข้เลือดออกได้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

1. ระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา ส่วนใหญ่ข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียสไปจนถึง 40 - 41 องศาเซลเซีนส มักไม่ค่อยตอบสนองต่อยาลดไข้ อาจมีอาการเบื่อ
อาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา ระยะนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2 - 7 วัน ระยะวิกฤต ระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง
2. ระยะวิกฤต ระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง
- ผู้ที่ไม่มีภาวะแทรกช้อน อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น
- เกร็ดเลือดต่ำ ทำให้เลือดออกง่าย และอาการจะไม่ดีขึ้น ยังคงเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลียมากกว่าเดิม
- มีภาวะการไหลเวียนเลือดล้มเหลว ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรง โดยเกิดภาวะการไหลเวียนเลือดล้มเหลวหรือภาวะช็อก เนื่องจากมีการรั่ว
ของพลาสมาออกไปยังช่องปอดหรือช่องท้องมาก เกิด hypovolemic shock ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดภาวะช็อกจึงขึ้นอยู่กับ
ระยะเวลาที่มีข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค หรือวันที่ 8 ของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลง เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว และความดันโลหิต
เปลี่ยนแปลง และอาจทำให้เสียชีวิตได้
- มีภาวะเลือดออกผิดปกติ เนื่องจากมีกร็ดลือดต่ำ เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena) อาการเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนใหญ่จะพบ
ร่วมกับภาวะช็อก
ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง ดังนั้นหากมีข้เกิน 2 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา
3. ระยะฟื้นตัว อาการต่าง ๆ จะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยอยากรับประทานอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น บางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือด
ออกเล็ก ๆ ตามลำตัว

การตรวจวินิจฉัย
เมื่อเริ่มมีอาการป่วยควรไปตรวจที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ให้การรักษาได้ แพทย์จะตรวจเลือดเพื่อหาไวรัส หรือสารแอนติบอดี้ที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ รวมทั้งดู
ปริมาณความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ปริมาณเม็เลือดขาวและเกร็ดเลือด และอาจนัดมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเกร็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ ๆ เพราะ
ถ้าปริมาณเกร็ดเลือดเริ่มลดลงและความเข้มข้นเลือดเริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าน้ำเลือดรั่วออกจากเส้นเลือดและอาจช็อกได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย

การป้องกันโรคไข้เลือดออก
1. ระมัดระวังไม่ให้ยุงกัด เช่น นอนในมุ้ง สวมใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หรือใช้สารไล่ยุง (Mosquito Repellents) แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ DEET ทาผิวนอกเสื้อผ้า
2. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก
ㆍปิดปากภาชนะเก็บน้ำด้วยผ้า ตาข่ายไนล่อนอะลูมิเนียม หรือวัสดุอื่นที่สามารถปิดปากภาชนะเก็บน้ำนั้นได้อย่างมิดชิด จนยุงไม่สามารถเล็ดลอดเข้าใปวางไข่ได้
ㆍ หมั่นเปลี่ยนน้ำทุกวัน ซึ่งเหมาะสำหรับภาชนะเล็ก ๆ ที่มีน้ำไม่มาก เช่น แจกันดอกไม้สด ทั้งที่เป็นแจกันที่หิ้งบูชาพระ แจกันที่ศาลพระภูมิ หรือแจกันประดับตาม
โต๊ะ รวมทั้งภาชนะและขวดประเภทต่างๆ ฯลฯ
ㆍใส่ทรายในจานรองกระถงต้ไม้ เพื่อให้ทรายดูดซึมน้ำส่วนเกินจากกรรนัตันไม้ไว้ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสาหรับกระถงตันไม้ที่ใหญ่และหนัก ส่วนตันไม้เล็กอาจใช้
วิธีเทน้ำที่ขังอยู่ในจานรองกระถางตันไม้ทิ้งไปทุกวัน
ㆍ การเก็บทำลายเศษวัสดุ เช่น ขวด ไห กระป้อง ฯลฯ และยางรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้ หรือคลุมให้มิดชิดเพื่อไม่ให้รองรับน้ำได้
3. ฉีดวัคซีนไข้เลือดออก ซึ่งปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดงกี และลดความรุนแรงของโรคได้เฉพาะในผู้ใหญ่ หรือเด็กอายุมากกว่า 6 ปี เนื่องจากวัคชีนจะได้ผลดี
เฉพาะในผู้ที่เคยมีการติดเชื้อไวรัสเดงกีมาก่อนเท่านั้น จึงควรมีการตรวจเลือดก่อนการฉีด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการฉีดวัคซีน

ที่มาข้อมูล และภาพ: โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์(บทความไข้เลือดออก)